เมนู

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] 1. กุสลติกะ 2. สหชาตวาร
1. กุสลติกะ 2. สหชาตวาร
1. ปัจจยานุโลม 1. วิภังควาร
เหตุปัจจัย
[234] สภาวธรรมที่เป็นกุศลเกิดพร้อมกับสภาวธรรมที่เป็นกุศลเพราะเหตุปัจจัย
ได้แก่ ขันธ์ 3 เกิดพร้อมกับขันธ์ 1 ที่เป็นกุศล ขันธ์ 1 เกิดพร้อมกับขันธ์ 3
ขันธ์ 2 เกิดพร้อมกับขันธ์ 2 (1)
สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤตเกิดพร้อมกับสภาวธรรมที่เป็นกุศลเพราะเหตุปัจจัย
ได้แก่ จิตตสมุฏฐานรูปเกิดพร้อมกับขันธ์ที่เป็นกุศล (2)
สภาวธรรมที่เป็นกุศลและที่เป็นอัพยากฤตเกิดพร้อมกับสภาวธรรมที่เป็นกุศล
เพราะเหตุปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ 3 และจิตตสมุฏฐานรูปเกิดพร้อมกับขันธ์ 1 ที่เป็น
กุศล ขันธ์ 1 และจิตตสมุฏฐานรูปเกิดพร้อมกับขันธ์ 3 ขันธ์ 2 และจิตต-
สมุฏฐานรูปเกิดพร้อมกับขันธ์ 2 (3)
[235] สภาวธรรมที่เป็นอกุศลเกิดพร้อมกับสภาวธรรมที่เป็นอกุศลเพราะเหตุ-
ปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ 3 เกิดพร้อมกับขันธ์ 1 ที่เป็นอกุศล ขันธ์ 1 เกิดพร้อมกับ
ขันธ์ 3 ขันธ์ 2 เกิดพร้อมกับขันธ์ 2 (1)
สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤตเกิดพร้อมกับสภาวธรรมที่เป็นอกุศลเพราะเหตุปัจจัย
ได้แก่ จิตตสมุฏฐานรูปเกิดพร้อมกับขันธ์ที่เป็นอกุศล (2)
สภาวธรรมที่เป็นอกุศลและที่เป็นอัพยากฤตเกิดพร้อมกับสภาวธรรมที่เป็นอกุศล
เพราะเหตุปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ 3 และจิตตสมุฏฐานรูปเกิดพร้อมกับขันธ์ 1 ที่เป็น
อกุศล ขันธ์ 1 และจิตตสมุฏฐานรูปเกิดพร้อมกับขันธ์ 3 ขันธ์ 2 และจิตต-
สมุฏฐานรูปเกิดพร้อมกับขันธ์ 2 (3)
[236] สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤตเกิดพร้อมกับสภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤต
เพราะเหตุปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ 3 และจิตตสมุฏฐานรูปเกิดพร้อมกับขันธ์ 1 ที่เป็น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 40 หน้า :125 }